ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก และ การแก้ไข

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Fracture) 

 

 ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก เป็นภาวะที่พบบ่อยในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุแรงกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณเบ้าตาหรือรอบๆเบ้าตา ความรุนแรงนั้นอาจจะเกิดเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงมากจนทำให้กระดูกเบ้าตาแตก หรือทำให้ตัวลูกตาแตก ก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของความแรงของแรงกระทำที่มากระทำและอีกปัจจัยคือทิศทางของแรงที่มากระทำกับตาหรือเบ้าตา

อาการ ที่พบหลังกระดูกเบ้าตาแตกได้แก่ อาการชาที่แก้ม  เห็นภาพซ้อน เปลือกตาบวมช้ำ  ความสามารถในการกลอกตาได้ลดลงหรือกลอกตาไม่สุด เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาหรือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตาถูกบีบทับจากกระดูกที่แตก ภายหลังจากที่เปลือกตายุบบวมลงแล้วอาจเห็นตาข้างที่ได้รับอุบัติเหตุยุบลงหรือเล็กลง ชัดเจนขึ้น หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ บางรายได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงแต่อาจไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้นชัดเจน ก็อาจมีภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้

 

ทราบหรือไม่ ???

ความรู้เกี่ยวกับกระดูกเบ้าตาแตก


3 ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดกระดูกเบ้าตาแตก
1. กระดูกเบ้าตาแตกเกิน 50 % 
2. ตำแหน่งของนันย์ตาข้างที่กระดูกแตกถอยหลังหรือยุบไปเกิน 2 มม
3. มีภาพซ้อนซึ่งไม่ทุเลาหลังอาการบวมยุบไปแล้ว และมีการกดทับและยึดติด (Entrapment) ระหว่างกระดูกเบ้าตาและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตา

ช่วงเวลาที่เหมาะสม (Gold peroid) สำหรับการแก้ไขภาวะกระดูกเบ้าตาแตกคือประมาณภายใน 2 สัปดาห์แรก


การรักษา ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก ช่วงเวลาที่เหมาะสมและได้ผลดีสำหรับการผ่าตัดคือช่วงเวลา 2 สัปดาห์แรกหลังโดนอุบัติเหตุเพราะถ้านานเกินไป จะเกิดพังผืดดึงรั้ง ระหว่างเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาและกระดูกที่แตกซึ่งจะมีผลกับการกลอกตาและการเกิดภาพซ้อนถาวร

Visitors: 87,429